ผลงานของพระสุริโยทัย คุณธรรมของพระสุริโยทัย ผลงานของสมเด็จพระสุริโยทัย
พระราชประวัติ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย
สมเด็จพระศรีสุริโยทัย เป็นพระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ( พระนามเดิมว่า พระเทียรราชา ) มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมพระองค์เท่าที่ปรากฎในประวัติศาสตร์ คือ พระราเมศวร พระมหินทราราธิราช พระวิสุทธิกษัตริย์ พระเทพกษัตริย์ วีรกรรมที่สำคัญ หลังจากที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานนัก พรเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ทราบข่าวการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ จึงคิดจะเข้ามาโจมตี เพราะคิดว่าทางกรุงศรีอยุธยาคงยังไม่ทันตั้งตัว และกองทัพคงไม่เข้มแข็งพอ พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ได้คุมกำลังพลประมาณ ๓แสนคน ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ เมื่อเห็นพม่ายกทัพใหญ่เข้ามา สมเด็จพระมหมาจักรพรรดิ์ได้ออกไปตั้งทัพรอข้าศึกที่ทุ่งภู่เขาทองและด้วยความเป็นห่วงพระสวามีและรู้ว่าศึกครั้งนี้คงใหญ่หลวงนักเพราะทางฝ่ายพม่ามีกำลังมากกว่า สมเด็จพระศรีสุริโยทัยจึงปลอมพระองค์เป็นชายโดยมีพระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพระราชโอรสตามเสด็จไปในกองทัพครั้งนี้ด้วย พระเจ้าแปรแม่ทัพฝ่ายพม่าซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งมะขามหย่องได้ล่อให้กองทัพของไทยเข้ามาในวงล้อมแล้วซุ่มโจมตีจนกองทัพไทยแตกกระเจิงไม่เป็นขบวน ในขณะเดียวกัน พระเจ้าแปรเห็นว่ากำลังได้เปรียบ จึงไสช้างของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์อย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระศรีสุริโยทัยเห็นพระสวามีเสียทีแก่ข้าศึกเกรงว่าพระสวามีจะได้รับอันตราย ด้วยพระน้ำทัยที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ และด้วยความรักจึงรีบไสช้างพระที่นั่งเข้าไปขวางศัตรูอย่างรวดเร็ว เป็นจังหวะเดียวกับที่พระเจ้าแปรใช้พระแสงของ้าวฟันถูกพระอังสะขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพระราชโอรสได้ฝ่าวงล้อมของทหารพม่าเข้าไป ช่วยกันนำพระศพของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ออกจากสนามรบกลับสู่พระนคร แล้วอัญเชิญพระศพไปไว้ที่ตำบลสวนหลวง เขตวัดสบสวรรค์ซึ่งอยู่ในเขตพระราชวังหลัง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย อย่างสมเกียรติสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เสียพระทัยมาก จึงโปรด ฯ ให้ จัดสร้างเจดีย์ศรีสุริโยทัยซึ่งเป็นพระเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสององค์ใหญ่ขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ถึงวีรกรรมแห่งความกล้าหาญและความจงรักภักดี ณ ตรงที่พระราชทานเพลิงศพ ในพระเจดีย์แห่งนี้ได้บรรจุพระอัฐิของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ไว้

พระราชโอรสและพระราชธิดา
สมเด็จพระสุริโยทัย มีพระราชโอรส-พระราชธิดา ๕ พระองค์ ซึ่งน่าจะเรียงลำดับดังนี้
พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต เป็นพระมหาอุปราช ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ระหว่างไปหงสาวดี
พระบรมดิลก พระราชธิดา เสียพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสงครามคราวเสียพระสุริโยทัย
พระสวัสดิราช พระราชธิดา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์ อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและเป็นพระชนนีของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ใน ปี พ.ศ.๒๑๑๒
พระเทพกษัตรี พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่พระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศพระนางถูกพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี สาเหตุที่พระเจ้าบุเรงนองชิงตัวไปก็เพราะพระเทพกษัตรีเป็นหน่อเนื้อของพระสุริโยทัย
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการก่อสร้าง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพระอนุสาวรีย์ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสุริโยทัย
แหล่งที่มา : study.eduzones.com , trueplookpanya.com |