ทวีปยุโรป ทวีปยุโรป เป็นทวีปที่อยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกับทวีปเอเชีย มีลักษณะคล้ายกับเป็นคาบสมุทรใหญ่ของทวีปเอเชีย จึงมีผู้เรียก ทวีปยุโรป และเอเชียรวมกันว่า “ยูเรเซีย” พรมแดนธรรมชาติที่ใช้เป็นแนวแบ่งทวีปยุโรปกับทวีเอเชียออกจากกัน คือ แนว เทือกเขาอูราลและแม่น้ำอูราล ที่ตั้ง
ทวีปยุโรป ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดประมาณ 36 องศาเหนือ ถึง 71 องศาเหนือ และลองจิจูดประมาณ 9 องศาตะวันตก ถึง ลองจิจูดประมาณ 66 องศาตะวันออก กล่าวคือ ทวีปยุโรป มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่เหนือเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ (ละติจูดที่ 23 ½ องศาเหนือ) ซึ่งอยู่ในเขตอากาศอบอุ่นเหนือเกือบทั้งหมดยกเว้นตอนเหนือสุดของทวีปเท่านั้นที่อยู่ในเขตอากาศหนาวเหนือ
ขนาด ทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 6 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอนตาร์กติกา แต่ใหญ่กว่าออสเตรเลีย
อาณาเขตติดต่อ มีดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก และมีทะลต่าง ๆ ได้แก่ ทะเลขาว ทะเลแบเรนต์ส น่านน้ำเหล่านี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
น้อยมาก เพราะในฤดูหนาวจะปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ใช้เดินเรือ
ไม่ได้ คาบสมุทรสำคัญด้านนี้ ได้แก่ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย
คาบสมุทรจัตแลนด์
ทิศตะวันออก ติดต่อเป็นผืนแผ่นดนเดียวกันกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขา อูราล แม่น้ำอูราล และทะเลสาบแคสเปียนเป็นแนวพรมแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลต่าง ๆ ได้แก่ ทะเล นอร์วิเจียน ทะเลเหนือ ทะเลไอริช และทะเลบอลติก เกาะ
สำคัญทางด้านนี้ ได้แก่ เกาะบริเตนใหญ่ เกาะไอร์แลนด์ และเกาะไอซ์แลนด์
ทวีปยุโรป เป็นทวีปที่มีชายฝั่งทะเลที่ยาวที่สุดในโลก ทั้งนี้เพราะความเว้าแหว่งของชายฝั่งทะเลมีมากนั่นเอง และยังทำให้มีคาบสมุทรหลายแห่ง ได้แก่ คาบสมุทร
สแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศนอร์เวย์และสวีเดิน คาบสมุทรจัดแลนด์เป็นที่ตั้งของประเทศเดนมาร์ก คาบสมุทรไอบีเรียเป็นที่ตั้งของประเทศสเปนและโปรตุเกส คาบสมุทรอิตาลี เป็นที่ตั้งของประเทศอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน เป็นที่ตั้งของประเทศอดีตยูโกสลาเวีย แอลเบเนีย โรมาเนีย บัลแกเรีย แอลกรีซ
(สาธารณรัฐเฮเลนิก) คาบสมุทรไครเมียในประเทศยูเครน
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของ ทวีปยุโรป
ทวีปยุโรป เป็นดินแดนที่เคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ความเจริญต่อเนื่องกันมาเป็นเวลากว่า 2000 ปี มาแล้วมีหลักฐาน ปรากฎอย่างชัดเจนว่า ความเจริญของทวีปยุโรปทีรากฐานกำเนิดจากอารายธรรมไมโนน (Minoan Civilization) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ เกาะครีต (Crete) ตอนใต้
ของคาบสมุทรบอลข่านในทะลเมดิเตอร์เรเนียน อารยธรรมไมโนนเป็นอารยธรรมที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างอารยธรรมโบราณ 2 แห่ง คืออารยธรรมอียิปต์
(ลุ่มแม่น้ำไนล์)และอารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรติส) จนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และต่อมาได้แผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ในบริเวณ
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะคาบสมุทรบอลข่านและคาบสมุทรอิตาลี จึงนับว่าชนชาติกรีกและชนชาติโรมันมีส่วนสำคัญที่สุดในการวางรากฐานความเจริญ
ในยุโรปชนชาติกรีก เป็นพวกอินโดยูโรเปียน มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบแม่น้ำดานูบ ในเขตประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณคาบสมุทรบอลข่านเมื่อประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสต์กาล กรีกเป็นชนชาติแรกที่ได้รับถ่ายทอดความเจริญ ของอารยธรรมไมโนนไปจากเกาะครีต และหลังจากนั้นชนชาติ
โรมันซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณคาบสมุทรอิตาลีก็ได้รับความเจริญไปจากชนชาติกรีกอีกทอดหนึ่ง กรีกได้ทิ้งมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมอันทีค่าหลายประการไว้แก่โลกตะวันตก เพราะกรีกเป็นนักคิดและนักสร้างสรรค์ที่สำคัญผลงานที่เด่นๆ ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ปรัชญา และที่สำคัญที่สุด คือ การปกครองระบอบประชาธิบไตยที่นับว่าเป็นการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แก่ประเทศต่างๆในปัจจุบัน ส่วน ชนชาติโรมัน นั้น แม้ว่าจะรับความเจริญต่างๆทางศิลปวัฒนธรรมมาจากกรีก แต่ก็รู้จักที่จะนำมาประยุกต์ดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ทางด้านการใช้สอยให้คุ้มค่าโดยเฉพาะการวางผังเมืองการวางท่อลำเลียงน้ำ
ที่อาบน้ำสาธารณะ ผลงานทางศิลปะต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ กฎหมายโรมัน ซึ่งเป็นรากฐานของการร่างกฎหมายประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป โรมันเป็นชนชาติที่มีความสามารถกล้าหาญ ได้ขยายอำนาจครอบครองดินแดนกรีก และดินแดนของชนชาติอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง จนทำให้อาณาจักรโรมันกลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมีอาณาเขตครอบคลุมเกือบทั่วภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ตะวันตกของทวีปยุโรปคาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน ดินแดนชายฝั่งตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตลอดไปจนถึงบริเวณตอนเหนือของทวีปแอฟริกา จักรวรรดิโรมัน เป็นศูนย์กลางความเจริญ ของทวีปยุโรปอยู่ประมาณ 300 ปี ภายหลังที่มีการแบ่งแยกจักรวรรดิออกเป็นจักรวรรดิโรมันตะวันตก โดยมีเมืองหลวงอยู่ทีกรุงโรม และจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 แล้ว จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้เริ่มเสื่อมลงตามลำดับ และในที่สุดได้ถูกพวกอนารยชนเยอรมันเผ่าติวตันเข้ารุกรานและยึดครองใน ค.ศ.476 ซึ่งมีผลทำให้ความเจริญต่าง ๆ ทางศิลปวัฒนธรรมหยุดชะงักลง สภาพทางสังคมของจักรวรรดิโรมันตะวันตกภายหลังการุกรานของอนารยชน เต็มไปด้วยความวุ่นวาย สับสน บ้านเมืองระส่ำระสายไปทั่ว มีศึกสงครามติดต่อกันเกือบตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการของกรีก-โรมัน ต้องหยุดชะงักลง และทำให้ทวีปยุโรปตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า ยุคมืด Dark Ages ซึ่งอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-10 ในระหว่างนั้นคริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวยุโรป เพราะเป็นระยะเวลาที่ประชาชน
กำลังแสวงหาที่พึ่งทางใจ วัดและสันตะปาปา คือศูนย์รวมแห่งจิตใจของประชาชน คริสต์ศาสนาจึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะนั้น ี้ อิทธิพลทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ชาวตะวันตกต่างพากันยอมรับ ในความยิ่งใหญ่ ่และอำนาจของพระเจ้าในการดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดขึ้น จนทำให้เกิดความกลัวที่จะคิดหรือกระทำการใด ๆ ที่นอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ที่ทางศาสนาได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามในระยะคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคม ของยุโรปไปในทางที่ดี คือ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือ เรอเนสซองส์ Renaissance ซึ่งทำให้มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการกรีก-โรมัน ที่หยุดชะงักไปตั้งแต่ยุคมืดขึ้นมาใหม่และยังส่งผลต่อเนื่งไปสู่การริเริ่มแนวคิด เริ่มมองทุกอย่างในลักษณะของเหตุผล รู้จักใช้สติปัญญาตน พิจารณาแทนความเชื่องมงายอย่างไร้เหตุผลดังที่เคยปฏิบัติมาในยุคมืด เริ่มมีความคิดว่ามนุษย์สามารถ ที่จะพัฒนาตนเองได้สามารถปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้นได้ด้วยความสามารถตนเอง สมัยเรอเนสซองส์จึงเป็นสมัยที่ก้าวไปสู่ ความเจริญอย่างไม่หยุดยั้งของโลกตะวันตกในระยะต่อมา ซึ่งขณะนั้นศูนย์กลางความเจริญของทวีปยุโรปได้ย้ายมาอยู่ ในบริเวณประเทศต่าง ๆ ที่ก่อตั้งขึ้นในบริเวณยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เป็นต้น นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ทวีปยุโรปจึงก้าวเข้าสู่สภาพสังคมแบบสมัยใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นการพัฒนา ในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ อันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวยุโรป เป็นอย่างมาก อาทิ การปฏิวัติศาสนาที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยนักบวชชาวเยอรมนี มาร์ติน ลูเธอร์ Martin Luthur ค.ศ.1483-1546 ทำให้มีการก่อตั้งนิกายโปรเตสแตนท์ ซึ่งแสดงให้เห็นความกล้าหาญ ในการแสดงออกซึ่งการต่อต้านคัดค้านนิกายดั้งเดิม คือ โรมันคาทอลิก ที่เคยมีอิทธิพลอย่างมากมาก่อน นอกจากนี้ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 มีผลทำให้มนุษย์เริ่มค้นคว้าหาความจริงจากธรรมชาติ มีการพิสูจน์ว่าโลกกลม ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล ซึ่งมีผลต่อการริเริ่มสำรวจทางทะเล และการแสวงหาอาณานิคมกันอย่างกว้างขวาง ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 และทำให้วัฒนธรรมตะวันตกได้แผ่ขยายไปยังดินแดนอาณานิคมต่างๆทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระยะที่อิทธิพลของยุโรป ทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้แผ่ขยายตัวไปทั่วโลก การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มต้นจากประเทศอังกฤษก่อนและต่อมาได้แผ่ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก ก็นับว่าเป็นผลมาจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ที่นำไปสู่ความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง และส่งผลกระทบทำให้ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่นำหน้าทวีปอื่นๆ ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีมาจนถึงปัจจุบัน |