ต้นกำเนิด ครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทประดิษฐ์
โครงงานวิทยาศาสตร์เกิดจากใคร...?
- ทำไมเด็กต้องทำโครงงาน
- จะเริ่มทำโครงงานได้อย่างไร
- โครงงานช่วยพัฒนาเด็กจริงหรือไม่
ลองอ่านบทความต่อไปนี้
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เท่าที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นความต้องการของครูผู้สอนที่ต้องการจะนำไปประกวดและแข่งขัน ไม่ได้คำนึงว่าเด็กสนใจที่จะศึกษา หรือไม่ แต่ต่อไปนี้โรงเรียนที่คิดจะพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และสนใจคิดทำโครง งานวิทยาศาสตร์ได้เอง โดยเริ่มจากปัญหาหรือข้อสงสัย แล้วพัฒนาไปสู่การทำโครงงานที่ชอบได้อย่างไร ลองศึกษาจากหนังสือกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นจาก สสวท. การทำโครงงานวิทยาศาสตร์จะทำให้ผู้เรียนฝึกคิด วิเคราะห์ปัญหาที่สนใจ คิดออกแบบสำรวจ ทดลอง หรือประดิษฐ์ มีการวางแผนดำเนินงานเพื่อลงมือปฏิบัติได้อย่างมีขั้นตอนและมีระบบ บันทึกผล วิเคราะห์ผล สรุปผล เขียนรายงาน ตลอดจนจัดเสนอผลงานและแสดงผลงานของโครงงานวิทยาศาสตร์ภายใต้การแนะนำของ อาจารย์ที่ปรึกษา การทำกิจกรรมดังกล่าว จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ ผลการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน อาจขยายไปถึงขั้นนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในท้องถิ่น ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชนได้
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. มีแนวคิดพัฒนาหนังสือกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา เพื่อเป็นแนวทางให้โรงเรียนสามารถจัดสาระการเรียนรู้ เพิ่มเติม ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านความคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเจตคติ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และสนุกกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งหนังสือกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ จะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2550ตามแผนปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ ทางสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา ได้นำหนังสือกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ไปวิจัยทดลองใช้กับนักเรียน ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาโดยสุ่มตัวอย่างโรงเรียนสังกัดทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 20 โรงเรียน ผลปรากฏว่านักเรียนมีความพึงพอใจในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และชอบทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในระดับดี และเมื่อนักเรียนได้เรียนรู้โดยใช้หนังสือกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียน สนุกในการเรียนรู้และเข้าใจ
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถคิดเรื่องและทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

ภาพที่1
ลองดูภาพต่อไปนี้มีคำถามอะไรเกิดขึ้นบ้าง
* มีผีเสื้อกี่ชนิด
* ทำไมผีเสื้อชอบเกาะตามดอกไม้
* ผีเสื้อมีวัฏจักรเป็นอย่างไร

* ไส้ดินสอดำนำไฟฟ้าหรือไม่
* ไส้ดินสอดำต่างยี่ห้อแต่มีขนาดเท่ากันนำไฟฟ้าได้เท่ากันหรือไม่
* ทำจักจั่นให้มีเสียงและแสงในขณะแกว่งได้อย่างไร
ลองจดคำถามที่เกิดขึ้นจากภาพที่1-ภาพ ที่ 3แล้วเลือกคำถามหรือข้อสงสัยที่สนใจมากที่สุดมา 1 คำถาม จากนั้นลองทำดู หรือสำรวจค้นคว้าหาคำตอบจากปัญหาง่ายๆไปสู่ปัญหาที่ยากถึงขั้นต้องทดลองค้น คว้าหาความรู้ วางแผนจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ การกระทำเช่นนี้ ทำให้เกิดเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์นั้นเอง ครูผู้สอนอย่าทำเรื่องง่ายๆให้เป็นเรื่องยากทำให้เด็กกลัวการทำโครงงานวิทยา ศาสตร์ พยายามฝึกให้เด็กคิด และแก้ปัญหาอาจจะมา จากเรื่องที่มีในบทเรียน หรือเรื่องที่พบในชีวิตประจำวัน ก็ได้ หรืออาจจะศึกษาเรื่องที่มีคนอื่นทำไว้แล้วนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม ก็ได้นะ
ที่มา : เว็บไซต์ scimath |