หมวดหมู่
หน้าหลัก       ยินดีต้อนรับสู่คลังความรู้มุสลิมไทยโพสต์

วิธีลดความอ้วนที่ได้ผลเร็วที่สุด วิธีลดความอ้วน ภายใน 7 วัน วิธีลดความอ้วนแบบธรรมชาติ วิธีลดความอ้วนภายใน3วัน วิธีลดความอ้วนของผู้ชาย ภาษาอาหรับที่เจอบ่อย      คำง่ายๆภาษาอาหรับ    ศัพท์เกาหลีแบ่งเป็นหมวด    คำศัพท์เกาหลี เรียกญาติ    ศัพท์เกาหลีง่ายๆ     
   คำศัพท์ญี่ปุ่น เรียกญาติ    วันเดือนปีในภาษามลายู    การเขียนวันเดือนปีในภาษามลายู    ศัพท์ยาวี    ศัพท์ญี่ปุ่นแบ่งเป็นหมวด     ภาษาไทยน่ารู้    
สระ 32 ตัว    ซาร่า ปาทาน    ขวัญกมล ปาทาน    น.ส.ขวัญกมล ปาทาน     ศัพท์อาหรับที่เจอบ่อย ศัพท์ญี่ปุ่นง่ายๆ  

 


ค้นหา
หากมีคำค้นหลายตัว สามารถคั่นด้วย comma (,)
หน้าหลัก >> การศึกษา >> งานประดิษฐ์
พิมพ์หน้านี้  |  ส่งให้เพื่อน
เทคนิค การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ พร้อมตัวอย่างประกอบ
คำค้น : วิทยาศาสตร์

 

รูปแบบ การเขียนรายงาน โครงงานวิทยาศาสตร์


(ตัวอย่างลิงค์ โครงงานวิทยาศาสตร์)



การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
 
          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  เป็นการเสนอผลงานการดำเนินการเป็นเอกสาร จัดว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของโครงงาน  เมื่อนักเรียนดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอนได้ข้อมูล  ทำการวิเคราะห์ข้อมูล  พร้อมทั้งแปรผล  และสรุปผลแล้ว งานขั้นต่อไปที่ต้องทำคือ การเขียนรายงาน

          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจแนวความคิด  วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้าข้อมูล  ผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุป และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น

          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

 1. ชื่อโครงงาน

          ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และควรกำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย   

          การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริงด้วย เช่น

          โครงงานวิทยาศาสตร์ ชื่อ "ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวันตัวน้อย" ซึ่งปัญหาเรื่องที่สนใจศึกษาคือถุงน้ำพลาสติกสามารถไล่แมลงวันที่มาตอมอาหารได้จริงหรือ จากเรื่องดังกล่าวผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ บางคนหรือบางคณะอาจสนใจตั้งชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ ว่า "การศึกษาการไล่แมลงวันด้วยถุงน้ำพลาสติก" หรือ "ผลการใช้ถุงน้ำพลาสติกต่อการไล่แมลงวัน" ก็เป็นได้

          อย่างไรก็ตามจะตั้งชื่อโครงการในแบบใด ๆ นั้น ต้องคำนึงถึงความสามารถที่จะสื่อความหมายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจน  

 2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน

          การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถติดตามได้ที่ใด  

 3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

          การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จนบรรลุเป้าหมาย  

 4. บทคัดย่อ

          อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อประมาณ 300-350 คำ

 5. กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)

                    ส่วนใหญ่โครงงานวิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ  จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จด้วย   
 
 6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ในการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะศึกษา หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน เพราะความรู้เหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องต่อไปนี้

          - แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา
          - แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล
          - ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป

          การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม   ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

          ส่วนที่ 1 คำนำ :
          เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์

          ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง :
          อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมี หลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำโครงงานเรื่องนี้

          ส่วนที่ 3 สรุป :
          สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1  

 7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน

          วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน คือ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ  
 
 8. สมมติฐานของการศึกษา

          สมมติฐานของการศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน   ต้องให้ความสำคัญ เพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ ซึ่งสมมติฐานก็คือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักและเหตุผล ตามหลักการ  ทฤษฎี รวมทั้งผลการศึกษาของโครงงานที่ได้ทำมาแล้ว  

 9. ขอบเขตของการทำโครงงาน

          ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนตัวแปรที่ศึกษา

          1. การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ การกำหนดประชากรที่ศึกษาอาจเป็นคนหรือสัตว์หรือพืช ชื่อใด กลุ่มใด ประเภทใด อยู่ที่ไหน เมื่อเวลาใด รวมทั้งกำหนด กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจศึกษา

          2. ตัวแปรที่ศึกษา การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่วนมากมักเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป การบอกชนิดของตัวแปรอย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งการควบคุมตัวแปรที่ไม่สนใจศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงานต้องเข้าใจ ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดบ้างเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้ฟังและผู้อ่านให้เข้าใจตรงกัน  

 10. วิธีดำเนินการ

          วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย

          1. การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
          2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
          3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
          4. การวิเคราะห์ข้อมูล
          ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง  

 11. ผลการศึกษาค้นคว้า

          นำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย   

 12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ

          อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐาน ควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมติฐานที่ตั้งไว้  หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนี้ยังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข หากมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย   

 13. เอกสารอ้างอิง

          เอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรเขียนตามหลักการที่นิยมกัน  



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
อาจารย์พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์

-------------

วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีหลายรูปแบบ
          การพิสูจน์หรือหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างสาขากัน  สามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น วิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี  ฟิสิกส์) มักจะใช้วิธีการทดลอง  แล้วจึงเก็บข้อมูลเป็นตัวเลข จากนั้นจึงนำมาประมวลเป็นข้อสรุป  ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น มานุษวิทยา ที่ทำการศึกษาโดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต หรือสัมภาษณ์
          กรณี วิทยาศาสตร์กายภาพ ข้อมูลจากการทดลองซึ่งเป็นตัวเลขถูกนำมาประมวลสร้างเป็น
ตาราง หรือกราฟ หรือสมการ ซึ่งสามารถใช้ในการทำนายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ส่วนวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ใช้วิธีบันทึกข้อมูลจากการสัมภาษณ์ หรือการสังเกต แล้วนำมาประมวลสรุปผลในรูปของการพรรณนา หรือการอนุมาณ
          ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จะต้องคำนึงว่าเขากำลังทำการศึกษาวิทยาศาสตร์ในเรื่องใดด้วยวิธีที่ถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่สามารถเข้าถึงความจริงได้ตามวัตถุประสงค์

ปัจจัยในการดำเนินงานทดลองทางวิทยาศาสตร์การตั้งคำถาม         

เริ่มต้นด้วยการที่คุณสังเกตสรรพสิ่ง แล้วเกิดสงสัย  จึงตั้งคำถามขึ้น แล้วดำเนินการหาคำตอบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ข้อสงสัยหรือปัญหาที่คุณตั้งขึ้น จะต้องสามารถหาคำตอบ หรือพิสูจน์ได้จากการทำการทดลอง ซึ่งบางคำถามก็ทำการทดลองเพื่อหาคำตอบง่าย ส่วนบางคำถามก็หาคำตอบโดยทำการทดลองได้ยากแตกต่างกันไป          ยกตัวอย่างเช่น คำถาม "เกลือหรือน้ำตาลละลายน้ำได้ดีกว่ากัน?" เป็นคำถามที่สามารถหาคำตอบได้จากการทดลองโดยง่าย แต่ถ้าเป็นคำถาม "ไก่เกิดก่อนไข่ หรือไข่เกิดก่อนไก่ ?" หรือคำถาม "ชนชาติ A หรือชนชาติ B กินเก่งกว่ากัน?" จะเห็นได้ว่าคำถามประเภทนี้เป็นคำถามที่หาคำตอบจากการทดลองได้ยาก เพราะคำถามมีลักษณะกว้าง และจัดสถานะการณ์ หรือกำหนดตัวแปรการทดลองทำได้ยาก         

คำถามที่มีความกว้าง และความแคบไม่เท่ากันทำให้การออกแบบการทดลองที่จะหาคำตอบมีลักษณะแตกต่างกันไปด้วย  ตัวอย่าง เช่น ใช้คำถามว่า "ต้นฟ้าทะลายโจรมีประโยชน์อะไรบ้าง?" จัดเป็นคำถามแบบกว้าง คำตอบที่ได้ก็จะเป็นแบบกว้างด้วย (นั่นคือสามารถตอบได้หลายอย่าง)         

แต่ถ้าเป็นคำถามว่า "ต้นฟ้าทะลายโจร เป็นพืชตระกูลอะไร?"   "ใช้รักษาโรคอะไร?"  "มีประสิทธิภาพการรักษาขนาดไหน?" เหล่านี้เป็นคำถามแบบแคบ         

มีข้อสังเกตว่าคำถามแบบกว้างมักจะหาคำตอบจากการสอบถามผู้รู้หรือค้นหาเอกสารแล้วนำมาประมวลเป็นคำตอบ และเป็นคำถามต้นๆในกรณีที่ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้น ขณะที่คำถามที่แคบเป็นการหาคำตอบที่เฉพาะขึ้น และมักจะหาคำตอบได้จากการทดลอง        

  นอกจากนี้จะเห็นว่าคำถามที่แคบลงก็มีทิศทางว่าใกล้ถึงจุดประสงค์ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง          ความสงสัยที่นักวิทยาศาสตร์ได้นำมาตั้งคำถามขึ้น นักวิทยาศาสตร์จะสมมุติคำตอบขึ้นมาก่อนโดยอาศัยหลักวิชาการ และข้อมูลที่มีอยู่  คำตอบที่สมมุติขึ้นไว้ก่อนนี้ เราเรียกว่า "สมมุติฐาน" การตั้งสมมุติฐานขึ้นก่อนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์ 

ยกตัวอย่าง เช่น เราสงสัยว่า นาย ก เป็นคนดีหรือไม่ เราอาจจะตั้งสมมุติฐานขึ้นว่านาย ก เป็นคนดี จากนั้นจึงออกแบบการทดลองขึ้นเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานว่านาย ก เป็นคนดี  โดยการทดลองจะเป็นไปตามแนวทางที่ว่าถ้านาย ก เป็นคนดีแล้ว เราทำการ……..(เหตุหรือ input) กับนาย ก แล้ว นาย ก จะสนองตอบโดย……..(ผลหรือ output)          ซึ่งจะเห็นว่าการตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนแล้วจึงออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน เป็นการสะดวกในแง่ที่ได้กำหนดกรอบในการหาคำตอบตามวิธีวิทยาศาสตร์ที่สามารถกระทำได้

ความสัมพันธ์กันของ เหตุ และ ผล         

วิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นการหาความจริงของธรรมชาติโดยยึดหลักว่า คำตอบหรือความจริงใดๆทางวิทยาศาสตร์ประกอบขึ้นด้วยคู่ของ เหตุ และ ผล ซึ่งสัมพันธ์กัน ดังนั้นถ้าเหตุและผลคู่ใดมีความสัมพันธ์กัน แสดงว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง เราสามารถพิสูจน์ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของเหตุและผลโดยการทดลอง และเฝ้าสังเกตระบบที่ศึกษาซ้ำหลายๆครั้ง

ประโยชน์จากการทราบคำตอบหรือความจริง         

ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เราจะพยายามหาความสัมพันธ์ของ เหตุ และ ผล ของความจริงหนึ่งๆให้พบ โดยการใส่ตัวแปรต้น (เหตุ) เข้าไปในระบบ แล้วบันทึกตัวแปรตาม (ผล) ที่ออกมาจากระบบ ตัวแปรทั้งสองถ้ามีความสัมพันธ์กันก็หมายถึงตัวแปรทั้งสองเป็น เหตุ และผล คู่ที่สัมพันธ์กันในความจริงทางธรรมชาติหนึ่งๆ         

การที่เราค้นพบความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุและผล หรือ ความจริงนั้น ทำให้เราสามารถนำไปทำนายหรือควบคุมสิ่งต่างๆให้เป็นประโยชน์ไปตามที่เราต้องการได้ ยกตัวอย่าง เช่น จากการที่เราพบความจริงของน้ำที่ว่าถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียส น้ำจะเดือด และเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ ซึ่งจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เราสามารถนำความจริงอันนี้ไปสร้างเป็นเครื่องจักรไอน้ำ          นักวิทยาศาสตร์อาจจะมีแรงจูงใจให้ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์จากความอยากรู้อยากเห็นส่วนตนอยู่ส่วนหนึ่ง แต่แรงจูงใจจะเพิ่มขึ้นถ้าเขาเห็นประโยชน์ของงานที่ทำว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างไรบ้าง

ค่าผิดพลาดจากการทดลอง         

กรณีที่ค่าที่วัดได้มีปัญหาโดยอาจจะมีค่ามากหรือน้อยกว่าที่คิดไว้ หรือการวัดค่าซ้ำในระบบที่เหมือนกันให้ค่าที่แตกต่างกัน แสดงว่ามีต่าผิดพลาด (error) เกิดขึ้นแล้ว          การแก้ไขในเบื้องต้นให้ตรวจสอบวิธีการวัด หรือเครื่องมือวัดว่ามีอะไรผิดปกติหรือน่าสงสัยหรือไม่ เช่น อ่านสเกลผิด  สารเคมีเสื่อม  เครื่องมือเก่าหรือชำรุด         

ถ้าหากไม่มีอะไรผิดปกติเกี่ยวกับวิธีการหรืออุปกรณ์วัด ก็ให้หาสาเหตุของค่าผิดพลาดต่อไปโดยให้กำหนดค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็น 2 ลักษณะคือ  ค่าผิดพลาดแบบสุ่ม (random error) และ ค่าผิดพลาดจากระบบ (systematic error)          

ค่าผิดพลาดแบบสุ่มเป็นค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย สามารถพบได้เป็นปกติ หรือเป็นธรรมชาติของตัวอย่างนั้นๆ ค่าผิดพลาดแบบสุ่มจะทำให้ค่าที่วัดตัวอย่างเดิมแต่ละคราวมีค่าแตกต่างกัน  ค่าแตกต่างจะเป็นไปได้ทั้งค่าบวกและค่าลบ แต่จะเป็นไปแบบสุ่ม  เราสามารถใช้สถิติมาลดค่าผิดพลาดนี้ โดยทำการทดลองซ้ำหลายครั้ง แล้วคิดผลลัพธ์ค่าที่ได้เป็นค่าเฉลี่ย  ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ในการวัดแต่ละครั้งให้ค่าแกว่งหรือแตกต่างกันมาก ค่าผิดพลาดแบบสุ่มก็ยิ่งมีค่ามาก การแก้ไขทำได้โดยเพิ่มการทดลองหลายหนแล้วนำมาคิดค่าเฉลี่ย จึงจะได้ค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงค่าจริง         

ส่วนค่าผิดพลาดจากระบบเป็นค่าผิดพลาดที่มีโอกาสการเกิดน้อยกว่าค่าผิดพลาดแบบสุ่ม อีกทั้งโอกาสที่จะตรวจพบก็ยากกว่าทั้งนี้เพราะความคงเส้นคงวา หรือการวัดซ้ำของผลที่ได้มีค่าใกล้เคียงกัน แต่ค่าที่อ่านได้เป็นค่าที่ผิดพลาดจากค่าจริงโดยอาจจะมีทิศทางเป็นบวกหรือเป็นลบอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่าง เช่น ไม้บรรทัดที่มีปลายขาดหายไป 1 นิ้ว ทำให้ค่าเริ่มต้นที่ 2 นิ้ว ทำให้ผลที่อ่านได้มีค่ามากกว่าค่าจริง 1 นิ้วตลอดเวลา (ค่าผิดพลาดทิศทางเป็นบวก)        

  วิธีการแก้ไข นักวิทยาศาสตร์มักจะทำการทดลองโดยใช้การวัดมากกว่า 1 วิธี ซึ่งถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด การวัดทั้งสองวิธีก็จะอ่านค่าได้เท่ากัน          การหาสาเหตุที่ทำให้เกิดค่าผิดพลาดบางครั้งต้องขอให้บุคคลอื่นทำการทดลองเดียวกันเปรียบเทียบกับที่คุณทำ หรือขอความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์ให้มาช่วยตรวจสอบการทดลองในขั้นต่างๆ เพราะบางครั้งเราก็ต้องการแง่คิดหรือมุมมองที่แตกต่างกันจากผู้อื่นในการช่วยให้มองเห็นปัญหาที่เรามองไม่เห็น

ทำอย่างไรถ้าโครงงานวิทยาศาสตร์ไม่เป็นไปตามที่หวัง         

ไม่ว่าผลการทดลองจะออกมาเป็นอย่างไรคุณก็ได้เรียนรู้บางสิ่งจากการทดลองแล้ว แม้ว่าการทดลองของคุณจะไม่ได้ตอบคำถาม หรือไม่ได้ให้ผลอย่างที่หวังไว้ แต่มันก็ทำให้เกิดไอเดียที่จะใช้ในการออกแบบการทดลองอื่นต่อไป การเรียนรู้จากการทดลองหนึ่งๆ ถือว่าเป็นบทเรียนที่มากพอสมควร และถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการก้าวต่อไปที่จะหาคำตอบ นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาปัญหาที่ซับซ้อนอาจใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อหาคำตอบ แม้กระนั้นเขาก็อาจจะยังไม่พบคำตอบ แต่ผลการทดลองของเขามีคุณค่า ซึ่งในที่สุดอาจจะมีใครสักคนจะนำผลนั้นไปใช้ในการทดลองของเขา และพบคำตอบ ซึ่งใครคนนั้นอาจจะเป็นคุณก็ได้

  ขั้นตอนของโครงงานวิทยาศาสตร์

          โดยทั่วไปแล้วการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จะประกอบด้วยขั้นตอนใหญ่ๆ 4 ขั้นคือ  การเฝ้าสังเกต    ตั้งสมมุติฐาน    ควบคุมการทดลอง  และสรุปผล แต่ที่จริงแล้วการดำเนินการทดลองจะประกอบด้วยขั้นตอนมากกว่านั้น ดังที่จะแสดงต่อไปนี้

1. เฝ้าสังเกต          คุณสังเกตเห็นบางสิ่งที่น่าสนใจ และสงสัยว่าทำไมสิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น คุณอยากจะทราบสาเหตุ  คุณอยากรู้ว่าของบางสิ่งทำงานอย่างไร และทำไมจึงทำงานได้ คุณได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณสังเกต และต้องการที่จะตรวจสอบ ขั้นตอนแรกคุณจึงต้องสังเกตและเขียนบันทึกสิ่งที่คุณสังเกตเห็นให้ชัดเจน

2. รวบรวมข้อมูล          ทำการค้นคว้าหาข้อมูลในสิ่งที่คุณต้องการตรวจสอบโดยการ อ่านหนังสือ  อ่านวารสาร หรือสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น  สุดท้ายอย่าลืมบันทึกแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย

3. ตั้งชื่อเรื่อง           การตั้งชื่อเรื่อง ควรจะต้องสั้น และ บอกสาระสำคัญที่คุณกำลังตรวจสอบ

4. วัตถุประสงค์          คุณต้องการตรวจสอบอะไร  โดยวิธีการอย่างไร และผลที่ได้นำไปใช้ทำอะไรหรือไม่ คุณจะต้องเขียนแสดงสิ่งเหล่านี้ออกมา โดยใช้ข้อมูลจากการสังเกต และการหาข้อมูลเบื้องต้นของคุณ

5. เลือกตัวแปร          จากข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมไว้เกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการตรวจสอบ พิจารณาเลือกว่าตัวแปรอะไรที่มีผลต่อระบบ ก่อนที่จะตั้งสมมุติฐานต่อไป

6. ตั้งสมมุติฐาน          เมื่อคุณศึกษาตัวแปรที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับระบบ แล้ว จงคิดถึงการทดลองที่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรครั้งละหนึ่งตัวแปร (กรณีที่มีตัวแปรมากกว่าหนึ่งตัวแปร) ทั้งนี้เพราะถ้าคุณทดลองโดยเปลี่ยนค่าตัวแปรไปทีละมากกว่าหนึ่งตัวแปร คุณก็จะไม่สามารถทราบได้ว่าตัวแปรใดเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดผลต่อระบบ บางครั้งตัวแปร 2 ตัวในระบบเดียวกันจะมีผลร่วมกัน ดังนั้นคุณจะต้องพยายามเลือกใช้ตัวแปรที่ไม่มีผลร่วมกับตัวแปรอื่น           

ถึงจุดนี้ คุณก็พร้อมแล้วที่จะเปลี่ยนคำถามเป็นสมมุติฐาน ซึ่งสมมุติฐานก็คือคำถาม (หรือคำตอบที่สมมุติขึ้น) ที่สามารถทดสอบได้ด้วยการทำการทดลอง          ในโครงงานวิทยาศาสตร์หนึ่ง คุณอาจจะตั้งคำถามได้หลายคำถาม ในแต่ละคำถาม หรือข้อสงสัยก็จะมี 1 สมมุติฐาน ดังนั้นคุณสามารถทำเป็นรายการของสมมุติฐาน แต่ละสมมุติฐาน คุณสามารถออกแบบการทดลองเพื่อการพิสูจน์โดยเลือกตัวแปรในการทำการทดลองที่เหมาะสม

7. ออกแบบการทดลอง                    

ทำรายการสิ่งที่ต้องทำทีละขั้นเพื่อหาคำตอบแก่คำถามที่คุณตั้งไว้  รายการนี้คือกรรมวิธีทดลองนั่นเอง สำหรับการทดลองที่มีคำตอบที่เชื่อถือได้ จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ตัวควบคุม (control) ซึ่งตัวควบคุมนี้ก็คือการทดลองที่ทำไปโดยไม่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรที่ใช้ในการทดลอง ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้เกิดเป็นตัวเปรียบเทียบหรืออ้างอิงให้เห็นความแตกต่างระหว่างการทดลองที่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรและไม่มีการเปลี่ยนตัวแปร ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าระบบมีผลลัพธ์แปรตามตัวแปรการทดลองหรือไม่        

  ยกตัวอย่าง เช่น ในการปรุงอาหารสูตร ก  เรามีสมมุติฐานว่า ถ้าใส่ผงชูรสลงไปจะทำให้อร่อยขึ้น เมื่อทำการทดลองเราจะต้องมีการเปลี่ยนค่าตัวแปร คือใส่ผงชูรสลงไปในสูตรอาหารที่ความเข้มข้นต่างๆ และการทดลองที่เป็นตัวควบคุมคือไม่ใส่ผงชูรสลงในสูตรอาหารนั้นเลย  จากนั้นจึงนำสูตรอาหารที่เตรียมขึ้นมาวัดค่าความอร่อยเปรียบเทียบกัน          นอกจากนี้การทำการทดลองจะต้องมีการทำซ้ำเพื่อยืนยันการได้ค่าเดิม (reproducible) ซึ่งการทำซ้ำนี้จะช่วยลดค่าความผิดพลาดที่เกิดจากการทดลองด้วย          สรุปแล้วการออกแบบการทดลองให้คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ตามลำดับ- ตัวแปรมีหลายตัวแปร แต่ตัวแปรที่คุณเลืออกมาใช้จะต้องช่วยคุณตอบปํญหาที่ตั้งไว้- เปลี่ยนค่าตัวแปรเพียงตัวเดียวในการทดลอองแต่ละครั้ง- ในกรรมวิธีที่คุณเขียนขึ้นจะต้องบอกถึงววิธีการเปลี่ยนค่าตัวแปรนี้ว่าคุณทำอย่างไร- ในกรรมวิธียังต้องบอกวิธีการวัดปริมาณขอองผลลัพธ์ที่เปลี่ยนไปว่าคุณวัดอย่างไร- ในการทดลองจะต้องมีตัวควบคุม เพื่อเป็นตตัวเปรียบเทียบ ทำให้คุณทราบว่าตัวแปรทดลองของ  คุณมีผลต่อระบบจริงหรือไม่

8. จัดหาวัสดุ และอุปกรณ์          ทำบัญชีรายชื่อของสิ่งที่คุณต้องการใช้ในการทดลอง แล้วทำการจัดหามา หลายสิ่งอาจจะมีอยู่แล้วในสถานการศึกษาของคุณเอง วัสดุหรือสารเคมีถ้าเป็นเกรดที่ใช้ในอุตสาหกรรม จะมีราคาถูกกว่าเกรดที่บริสุทธิ์สูงที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมีอยู่ค่อนข้างมาก ฉะนั้นขอให้พิจารณาประกอบกันไปด้วย ส่วนสารเคมีที่มีความบริสุทธิ์สูง และราคาแพงหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายสารเคมี และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ สารเคมีที่ความบริสุทธิ์ปานกลาง (มักจะมีจุดประสงค์ใช้ในการศึกษาระดับโรงเรียน) หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์การศึกษาขนาดใหญ่ เช่น ร้านศึกษาภัณฑ์  สารเคมีเกรดอุตสาหกรรมอาจจะติดต่อขอตัวอย่างสารได้ฟรีจากตัวแทนจำหน่ายบางร้าน (เป็นการส่งเสริมการขาย) ซึ่งบรรดาตัวแทนจำหน่ายต่างๆนี้คุณสามารถเสาะหาติดต่อได้จากสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง

9. ทำการทดลอง และบันทึกข้อมูล          บ่อยครั้งที่การทดลองจะทำเป็นชุดการทดลอง  ใน 1 ชุดการทดลองประกอบด้วยการทดลองย่อยๆที่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรให้แปรผันไม่เท่ากันในแต่ละการทดลองย่อย ตัวอย่างเช่นคุณศึกษาผลของเกลือแกงในการเปลี่ยนแปลงจุดเดือดของสารละลาย  ในการทดลองนี้คุณอาจจะแบ่งเป็นการทดลองย่อย 5 การทดลอง โดยแต่ละการทดลองประกอบด้วยสารละลายซึ่งเตรียมขึ้นโดยเติมเกลือที่เข้มข้นไม่เท่ากัน เช่น 1%     2%    3%   4% และ 5% ตามลำดับ  จากนั้นคุณจึงวัดจุดเดือดของสารละลายทั้ง 5           การบันทึกข้อมูลควรจะทำเป็นตาราง สิ่งที่คุณบันทึกในขั้นนี้ถือเป็นข้อมูลดิบ ซึ่งมักจะได้แก่ค่าต่อไปนี้  ปริมาณสารเคมีที่ใช้   ระยะเวลาที่ใช้    ค่าที่วัดได้   ข้อมูลดิบเหล่านี้จะต้องผ่านการคำนวณ หรือประมวลผลเสียก่อนจึงจะสรุปเป็นผลการทดลองได้

10. บันทึกข้อสังเกต          ระหว่างทำการทดลองให้สังเกต และบันทึกเป็นข้อสังเกตไว้ เช่น ปัญหาที่พบ  สิ่งที่น่าสนใจ   ทุกอย่างที่คุณทำ  และทุกอย่างที่เกิดขึ้น  ข้อสังเกตเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากเมื่อคุณเขียนบทสรุป หรือเมื่อต้องการวิเคราะห์หาข้อผิดพลาดจากการทดลอง  

11. คำนวณ          นำข้อมูลดิบมาคำนวณได้เป็นตัวเลขที่คุณพร้อมจะนำไปเขียนบทสรุป ยกตัวอย่าง เช่น คุณชั่งภาชนะ แล้วบันทึกในช่องข้อมูลดิบคือ "น้ำหนักภาชนะ" จากนั้นคุณเติมดินลงไปจำนวนหนึ่ง แล้วนำภาชนะไปชั่งน้ำหนักอีกครั้งแล้วบันทึกในช่องข้อมูลดิบช่อง "น้ำหนักภาชนะ + ดิน" ในภาคการคำนวณ คุณต้องคำนวณหาว่าใช้ดินไปเป็นจำนวนเท่าไรในการทดลองแต่ละครั้งโดยการคำนวณดังนี้

 (น้ำหนักภาชนะ + ดิน)  -  (น้ำหนักภาชนะ)   =  น้ำหนักของดินที่ใช้

          ผลของการคำนวณที่ได้ให้นำไปบันทึกในช่องผลลัพธ์ของตารางในช่อง "น้ำหนักของดินที่ใช้"

12. รวบรวมผลลัพธ์         

นำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมาแสดงในรูปของตัวเลขในตาราง  หรือกราฟ หรืออาจจะอยู่ในรูปคำบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง

13. เขียนบทสรุป          ผลลัพธ์และการคำนวณที่ได้จากการทดลองทำให้คุณสามารถเห็นแนวโน้มของตัวแปรต่างๆที่ทำให้เกิดผลต่างๆในการทดลอง ด้วยแนวโน้มนี้ คุณสามารถเขียนสรุปเกี่ยวกับระบบที่ศึกษา ซึ่งข้อสรุปนี้ทำให้เราสามารถพิสูจน์สมมุติฐานว่าถูกต้องหรือไม่         

นอกจากนี้ในบทสรุปยังมักจะมีสิ่งต่อไปนี้- ถ้าสมมุติฐานของคุณไม่ถูกต้อง คำตอบที่แแท้ควรจะเป็นอะไร- ประมวลความยากหรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่่างทำการทดลอง เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขใน  การทำการทดลองคราวหน้า- คุณต้องการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีทดลอง และะทำการทดลองนี้ซ้ำอีกหรือไม่- อะไรที่คุณคิดว่าจะทดลองแตกต่างออกไปในกการทดลองคราวหน้า- บันทึกรายการสิ่งที่คุณได้เรียนรู้- พยายามตอบคำถามที่เกิดขึ้นใหม่จากการทดลลอง เพื่อตั้งสมมุติฐานที่สามารถทำการทดสอบได้อีก  ในคราวต่อไป

 ตัวอย่างการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ (ระดับประถมปีที่ 4) :   ผลของเกลือที่มีต่อจุดเดือดของน้ำ

เฝ้าสังเกต          ตำราทำอาหารบอกว่าให้เติมเกลือลงน้ำก่อนน้ำจะเดือด

ชื่อเรื่อง          ผลของเกลือที่มีต่อจุดเดือดของน้ำ

วัตถุประสงค์ของโครงงาน          เพื่อศึกษาว่าเกลือแกงธรรมดามีผลต่อจุดเดือดของน้ำอย่างไร

สมมุติฐาน          การเติมเกลือแกงลงไปในน้ำที่กำลังต้มอยู่ทำให้อุณหภูมิจุดเดือดของน้ำสูงขึ้น

วัสดุ และอุปกรณ์- เกลือแกง- น้ำกลั่น- ถ้วยตวงหน่วยเป็นไปนต์- หม้อต้มขนาดบรรจุ 2 ควอท- ช้อนชา และ ช้อนโต๊ะ- เทอร์โมมิเตอร์- ช้อนคนสาร

วิธีการทดลอง1. ต้มน้ำ 1 ควอทบนเตา2. เมื่อน้ำเดือด  วัดอุณหภูมิที่สูงสุด  ค่าที่วัดนี้ถือเป็นค่าควบคุม เพื่อเปรียบเทียบกับ3. ตวงเกลือแกงจำนวน 1 ช้อนโต๊ะปาดเรียบ4. ใส่ลงไปในน้ำที่เดือด แล้วคน5. วัดอุณหภูมิของน้ำเดือดที่มีเกลืออยู่ โดยบันทึกอุณหภูมิสูงสุดไว้6. ทำการทดลองซ้ำโดยเติมเกลือเพิ่มอีก 1 ช้อนโต๊ะปาดเรียบ

ข้อมูล              ทำการทดลองเมื่อ   25/2/95

      จำนวนน้ำเดือด         2  ถ้วย      อุณหภูมิน้ำเดือด (ควบคุม)    212.9 F      จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 1          1 ช้อนโต๊ะ      อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเติมเกลือแกง # 1                    215.6 F      จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 2          1 ช้อนโต๊ะ       อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเพิ่มเกลือแกง # 2                   218.3  F

บันทึกข้อสังเกต        

  เมื่อเติมเกลือลงไปในน้ำเดือด จะเกิดฟองมากขึ้น แล้วก็หยุดเดือด หลังจากนั้นอีกสักครู่น้ำจะกลับเดือดอีก          การใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดบริเวณน้ำด้านข้างของหม้อต้มน้ำ จะวัดอุณหภูมิได้สูงกว่าการวัดอุณหภูมิบริเวณใจกลางของหม้อ เพราะไฟต้มน้ำมีความร้อนแรงบริเวณรอบนอก ดังนั้นให้วัดค่าที่จะบันทึกจริงบริเวณใจกลางของหม้อ

การคำนวณ- ปริมาณเกลือแกงที่ใช้ในการทดลอง # 1 :   0+1  =  1  ช้อนโต๊ะ- ปริมาณเกลือแกงที่ใช้ในการทดลอง # 2 :   1+1  =  2  ช้อนโต๊ะ

ผลการทดลอง

     อุณหภูมิน้ำเดือด(ควบคุม)      212.9 F      จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 1                  1 ช้อนโต๊ะ      อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเติมเกลือแกง # 1       215.6  F      จำนวนเกลือแกงทั้งหมดที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 2        2 ช้อนโต๊ะ       อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเพิ่มเกลือแกง # 2       218.3  F

สรุปผลQ: สมมุติฐานถูกต้องหรือไม่ ?  A: ถูกต้อง  การเติมเกลือแกงทำให้น้ำเดือดที่อุณหภูมิสูงขึ้นQ: ปัญหาที่เกิดในระหว่างการทดลอง  A: การอ่านอุณหภูมิทำได้ยาก ต้องใส่ถุงมือป้องกันมือจากความร้อน และต้องระวังไม่ให้ความร้อนรบ     กวนจากเตามาถึงเทอร์โมมิเตอร์Q: สิ่งที่เรียนรู้อื่นๆ A: ให้ระวังขณะเติมเกลือลงในน้ำเดือด เพราะมันจะทำให้น้ำเดือดอย่างรุนแรงเป็นเวลา 1-2 วินาที

คำถามข้างเคียงQ: คุณคิดว่าตำราทำอาหารแนะนำให้ใส่เกลือแกงลงไปในน้ำต้มเดือดเพื่ออะไร?  A: เมื่อน้ำถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยเกลือ คุณสามารถทำอาหารได้เร็วขึ้น  และเกลือก็ยังทำให้อาหาร      รสดีขึ้น

 
  เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :-
 
  เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :-
    เกมส์ปลูกผัก เกมส์เครื่องบิน เกมส์ต่อสู้ เกมส์ยิง เกมส์กีฬา เกมส์สนุกเกอร์เกมส์ผจญภัย เกมส์ผี
เกมส์การ์ดยูกิ 2, เกมส์การ์ดยูกิ 3, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์การ์ดยูกิ 2, เกมส์การ์ดยูกิ 3, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์ยางลูง, เกมส์ยางลูง2, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์ยางลูง, เกมส์ยางลูง2, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์xเม็น 27, เกมส์xเม็น4, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์xเม็น 27, เกมส์xเม็น4, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์มวยปล้ำ2คน, เกมส์มวยปล้ำ pc, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์มวยปล้ำ2คน, เกมส์มวยปล้ำ pc, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์หนอนสู้กัน, เกมส์หนอนยิงกัน, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์หนอนสู้กัน, เกมส์หนอนยิงกัน, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์สงครามโลกครั้งที่2, เกมส์สงครามโลก2, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์สงครามโลกครั้งที่2, เกมส์สงครามโลก2, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์ต่อสู้ผู้หญิง2คน, เกมส์ต่อสู้ผู้หญิงกับผู้ชาย, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์ต่อสู้ผู้หญิง2คน, เกมส์ต่อสู้ผู้หญิงกับผู้ชาย, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์นักสู้หมัดสายลม2, เกมส์นักสู้หมัดสายลม4, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์นักสู้หมัดสายลม2, เกมส์นักสู้หมัดสายลม4, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์สงครามโรมัน, เกมส์สงครามยุคหิน, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์สงครามโรมัน, เกมส์สงครามยุคหิน, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์นักรบอัลลอย2, เกมส์นักรบอัลลอยมันที่สุด, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์นักรบอัลลอย2, เกมส์นักรบอัลลอยมันที่สุด, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์นักรบโรมัน, เกมส์นักรบโบราณ, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์นักรบโรมัน, เกมส์นักรบโบราณ, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์สงครามแห่งยุคหิน, เกมส์สงครามแห่งยุค3, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์สงครามแห่งยุคหิน, เกมส์สงครามแห่งยุค3, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์สงครามยุคหิน 1, เกมส์สงครามยุคหิน1, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์สงครามยุคหิน 1, เกมส์สงครามยุคหิน1, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์วอร์คราฟ2, เกมส์วอร์คราฟ pc, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์วอร์คราฟ2, เกมส์วอร์คราฟ pc, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์สงครามกองทัพอสูร, เกมส์สงครามอสูร, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์สงครามกองทัพอสูร, เกมส์สงครามอสูร, เกมส์สนุกๆมันๆ
เกมส์ต่อสู้ เกมส์ต่อสู้ผ่านด่าน
เกมส์ต่อสู้ 1 คน เกมส์ต่อสู้ 2 คน
เกมส์ต่อสู้ผจญภัย เกมส์ต่อสู้ออนไลน์
เกมส์ต่อสู้นารูโตะ เกมส์ต่อสู้นินจา
เกมส์ต่อสู้สุดมัน เกมส์ต่อสู้มัน
เกมส์มาริโอ เกมส์แต่งบ้าน
เกมส์ปลูกผัก เกมส์โดเรมอน
เกมส์สร้างเมือง เกมส์ทําเค้ก
เกมส์เกี่ยวกับผี เกมส์เต้นออดิชั่น
เกมส์ตัดผม เกมส์จับผิดภาพ
คลิก เกมส์ออนไลน์ ทั้งหมด
ท่านอาจกำลังสนใจสิ่งนี้อยู่
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
340 ลาดพร้าว 112 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2514-0593 แฟ็กซ์ 0-2538-4215 Email : [email protected]